Thai Culture Blog

ประเพณี ปฎิบัติในไทย

ประเพณีล่องเจ้า (ล่องจุ๊) เกี่ยวข้องกับวันสงกรานต์อย่างไร ?

พิธีล่องเจ้า (ล่องจุ๊) คืออะไร ?

พิธีล่องเจ้า (ล่องจุ๊) พิธีกรรมที่ชาวมอญจะเรียกกันว่า ‘เล๊ะจุ๊สะเป็นปล่าย’ เป็นพิธีกรรมที่เป็นส่วนหนึ่งของวันสงกรานต์จะจัดเฉพาะกลุ่มคนไทยเชื้อสายรามัญ หรือมอญ ในตำบลบางกระเจ้า จังหวัดสมุทรสาครเท่านั้น โดยประเพณีนี้เป็นประเพณีที่ชาวบ้านระแวกนั้นสืบต่อกันมาตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน จะจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีหลังวันสงกรานต์ผ่านพ้นไป หรือ ช่วงขึ้น 1 ค่ำ เดือน 6 เพื่อเป็นการแสดงความเคารพต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์

ประเพณีล่องเจ้า (ล่องจุ๊) เกี่ยวข้องกับวันสงกรานต์อย่างไร ?
ประเพณีล่องเจ้า (ล่องจุ๊) เกี่ยวข้องกับวันสงกรานต์อย่างไร ?

ซึ่งในทุก ๆ หมู่บ้านของตำบลบางกระเจ้าจะมีศาลประจำหมู่บ้านเป็นของตัวเอง โดยศาลต่าง ๆ จะเป็นที่พึ่งทางใจของชาวมอญ นอกจากนี้คนในพื้นที่ยังมีความเชื่อกันอีกว่าเจ้าพ่อที่ประทับอยู่ในศาลประจำหมู่บ้าน จะเป็นผู้นำสิ่งที่เป็นมงคลมาสู่ชีวิต ทำให้ครอบครัวและทุกคนในหมู่บ้านมีความสุข

เครื่องเซ่นไหว้ในพิธีล่องเจ้า (ล่องจุ๊)

ในทุก ๆ พิธีกรรมมักจะมีของไหว้ หรือเครื่องเซ่นไหว้ที่บ่งบอกถึงพิธีกรรมอยู่เสมอ เช่นเดียวกันพิธีล่องเจ้า (ล่องจุ๊) ก็มีของเซ่นไหว้ในพิธีกรรมเช่นกันค่ะ

  • ขนมต้มแดง และขนมต้มขาว อย่าง 1 ถ้วย
  • มะพร้าวอ่อน 1 ผล
  • กล้วย 1 หวี
  • ข้าวสวย 1 ถ้วย
  • ไข่ต้ม 1 ฟอง (วางบนข้าว)
ประเพณีล่องเจ้า (ล่องจุ๊) เกี่ยวข้องกับวันสงกรานต์อย่างไร ?
ประเพณีล่องเจ้า (ล่องจุ๊) เกี่ยวข้องกับวันสงกรานต์อย่างไร ?

เมื่อตระเตรียมของไหว้เสร็จแล้วให้นำสิ่งเหล่านั้นมาจัดใส่ถาด นำไม้ไผ่อันเล็ก ๆ ยาว ๆ ที่ชาวบ้านเรียกกันว่าไม้เกี้ยว มาหักเป็นรอยให้เป็นข้อโดยแต่ละข้อจะทิ้งช่วงห่างกันประมาณครึ่งนิ้ว (จำนวนรอยข้อจะหมายถึงจำนวนคนในบ้าน) จากนั้นจึงนำไม้เกี้ยวไปปักลงบนหวีกล้วยที่อยู่ในถาด เมื่อเตรียมของเรียบร้อยแล้วชาวบ้านก็จะนำถาดเหล่านี้ไปวางไว้ที่โต๊ะบริเวณที่จัดพิธีกรรม

นอกจากนี้ชาวบ้านจะต้องจัดหาผ้าขาวม้า รวมไปถึงผ้านุ่งสวย ๆ เตรียมเอาไว้หลายชุด โดยชาวบ้านมีความเชื่อกันว่านอกจากเจ้าพ่อประจำหมู่บ้านแล้ว ยังมีเจ้าพ่อและเจ้าแม่องค์อื่น ๆ จะมาร่วมในพิธีกรรมนี้ด้วย โดยพิธีนี้จะเริ่มต้นประมาณเวลาบ่าย 3 โมง ผู้ร่วมที่เป็นร่างทรงจะเป็นสตรี ก่อนเริ่มพิธีสตรีที่ได้รับเชิญจะต้องรับเครื่องเซ่นจากชาวบ้านมา เมื่อร่างทรงประทับแล้วร่างทรงจะหยิบผ้ามาห่มทับกับเสื้อผ้าตัวเดิม หลังจากนั้นก็จะร่ายรำไปตามทำนองเพลงบรรเลงของมอญโบราณ (ไม่มีเนื้อร้อง) ในขณะที่ท่านกำลังประทับร่างทรงนั้น ท่าก็จะเลือกสาว ๆ ให้ออกมารำด้วย

ประเพณีล่องเจ้า (ล่องจุ๊) เกี่ยวข้องกับวันสงกรานต์อย่างไร ?
ประเพณีล่องเจ้า (ล่องจุ๊) เกี่ยวข้องกับวันสงกรานต์อย่างไร ?

นอกจากนี้ชาวบ้านยังมีความเชื่ออีกว่าหากเจ้าเข้าประทับร่างของใคร คนนั้นจะต้องเป็นร่างทรงที่มารำถวานเจ้าพ่อเป็นประจำทุกปี เมื่อเจ้าพ่อออกจากร่างแล้วร่างทรงนั้นก็จะล้มลง

ศาลเจ้าในตำบลบางกระเจ้า มีทั้งหมด 7 ศาล ได้แก่

  1. ศาลเจ้าพ่อเพชร หมู่ที่ 2 บ้านบางไผ่เตี้ย
  2. ศาลเจ้าพ่อสรวง หมู่ที่ 3 บ้านใหม่
  3. ศาลเจ้าพ่อช้างพันธุ์ หมู่ที่ 4 บ้านบางสีคต
  4. ศาลเจ้าพ่อดอนยาว หมู่ที่ 4 บ้านบางสีคต
  5. ศาลเจ้าบางกระเจ้าน้อย (เจ้าพ่อจำปีจำปา) หมู่ที่ 5 บ้านบางกระเจ้าน้อย
  6. ศาลเจ้าพ่อปู่เทพารักษ์ หมู่ที่ 7 บ้านบางกระเจ้า
  7. ศาลเจ้าแม่หม่อมจันทร์ หมู่ที่ 9 บ้านย่านซื่อ

ข้อมูล : กระทรวงวัฒนธรรม

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *